แนะนำ คณะทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และวัสดุศาสตร์

https://zyhjcl.gxu.edu.cn/English.htm

คณะทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และวัสดุ มหาวิทยาลัยกว่างซี ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2560 โดยมหาวิทยาลัยฯ เพื่อส่งเสริมการก่อสร้าง "มหาวิทยาลัยระดับโลกสองแห่ง" เสริมสร้างสหวิทยาการ ได้รวมคณะทรัพยากรและโลหะวิทยาเดิม คณะสิ่งแวดล้อม และคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุเข้าด้วยกัน และในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ของคณะวนศาสตร์เดิมได้รวมเข้ากับคณะฯ ด้วย ปัจจุบันมีสามสาขาวิชาในระดับปริญญาเอก และห้าสาขาวิชาในระดับปริญญาตรี ชื่อภาษาอังกฤษของคณะฯ คือ School of Resources, Environment and Materials

กว่างซีมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งกำเนิดบุคคลสำคัญ คณะฯ ยึดมั่นในพันธกิจการดำเนินงาน "ปกป้องประเทศจีน สร้างความเจริญให้กว่างซี" และคติพจน์ของมหาวิทยาลัย "ขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์ สุจริต ใฝ่หาความรู้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่" สืบทอดปณิธานและประเพณีของบรรพบุรุษ มุ่งมั่นที่จะบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญระดับเฟิร์สคลาสเพื่อการพัฒนาประเทศและกว่างซีมาโดยตลอด ประวัติการดำเนินงานของคณะฯ มีมายาวนาน สามารถสืบย้อนไปได้ถึงปี 1928 ศาสตราจารย์หม่า จวินอู่ หลี่ ซื่อกวง เหอ เจี๋ย ไช่ เฉิงอวิ๋น เจิ้ง เจี้ยนเซวียน วัง จ้านซิน และผู้มีชื่อเสียงระดับประเทศอีกหลายท่าน เคยดำรงตำแหน่งสอนและดำเนินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยกว่างซี วางรากฐานสำหรับการพัฒนาสาขาวิชาของคณะฯ และได้บ่มเพาะบุคลากรด้านเทคนิควิชาชีพจำนวนมากสำหรับประเทศและกว่างซี ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นคณะวิจัยเชิงการสอนที่บูรณาการการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี ด้วยความพยายามร่วมกันของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ในปี 2015 วิทยาศาสตร์วัสดุได้เข้าสู่กลุ่ม 1% แรกของสาขาวิชา ESI ระดับโลก และในปี 2021 สิ่งแวดล้อม/นิเวศวิทยาได้เข้าสู่กลุ่ม 1% แรกของ ESI ระดับโลก

คณะฯ มีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่รวม 167 คน เป็นคณาจารย์ประจำ 125 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และตำแหน่งสูงเทียบเท่า 39 คน ผู้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และตำแหน่งสูงเทียบเท่า 34 คน ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก 117 คน อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาเอก 26 คน อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาโท 119 คน และบุคลากรผู้มีความสามารถระดับสูงประเภทต่างๆ 19 คน (ครั้ง) ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลาในระบบจำนวน 3,056 คน แบ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 1,953 คน และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 1,103 คน

ปัจจุบัน คณะฯ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 สาขา ได้แก่ วิศวกรรมทรัพยากรแร่ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมการขึ้นรูปและควบคุมวัสดุ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ และวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ มีจุดให้ปริญญาโทใน 3 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ และมีหลักสูตรปริญญาโทวิชาชีพ 2 ประเภท ได้แก่ วัสดุและเคมี (วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมป่าไม้) ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเหมืองแร่) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุเป็นโครงการก่อสร้างสาขาวิชาชั้นนำของกว่างซี และได้รับการประเมินผลขั้นสุดท้ายรอบแรกของสาขาวิชาชั้นนำของเขตกว่างซีในเดือนกรกฎาคม 2564 ในระดับ "A" วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมทรัพยากรแร่ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมของคณะฯ ล้วนเป็นจุดก่อสร้างสาขาวิชาชั้นนำระดับชาติ วิศวกรรมการขึ้นรูปและควบคุมวัสดุเป็นจุดก่อสร้างสาขาวิชาปริญญาตรีชั้นนำของกว่างซี วิศวกรรมทรัพยากรแร่และวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้เป็นสาขาวิชาเฉพาะระดับชาติ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุและวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้เป็นสาขาวิชาทดลองปฏิรูปบูรณาการระดับชาติ และสองสาขาวิชา ได้แก่ วิศวกมสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ ได้รับเลือกให้เข้าร่วม "แผนการบ่มเพาะวิศวกรดีเด่น" ของกระทรวงศึกษาธิการ

คณะฯ ให้ความสำคัญกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การบูรณาการการวิจัยกับการศึกษา และการบ่มเพาะผู้มีความสามารถ จึงได้สร้างแพลตฟอร์มการวิจัยและการสอนระดับสูง รวมถึงแพลตฟอร์มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจำนวนหนึ่ง ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการสำคัญระดับชาติที่สร้างร่วมกันโดยมณฑลและกระทรวง 1 แห่ง ห้องปฏิบัติการสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ 1 แห่ง แพลตฟอร์มการวิจัยห้องปฏิบัติการสำคัญของกว่างซี 2 แห่ง ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยของกว่างซี 2 แห่ง ห้องปฏิบัติการสำคัญของมหาวิทยาลัยกว่างซี 3 แห่ง และสถาบันวิจัยอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง

ตารางสรุปแพลตฟอร์มการวิจัย

รายการ

ประเภท

หน่วยงานที่อนุมัติ

เวลาที่อนุมัติ

ห้องปฏิบัติการสำคัญแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยตลอดอายุการใช้งานของวัสดุโลหะพิเศษและโครงสร้างประกอบ สร้างร่วมกันโดยมณฑลและกระทรวง

ห้องปฏิบัติกาสำคัญ แห่งชาติที่สร้างร่วมกัน โดยมณฑลและกระทรวง

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

พ.ศ. 2565

ห้องปฏิบัติการสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเทคโนโลยีใหม่ในการแปรรูปโลหะนอกกลุ่มเหล็กและวัสดุ

ห้องปฏิบัติการหลักของกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติ

พ.ศ. 2546

ฐานนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญของห้องปฏิบัติการสำคัญกวางสีว่าด้วยการแปรรูปโลหะนอกกลุ่มเหล็กและวัสดุพิเศษ

ฐานนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญของกว่างซี

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับเขต

พ.ศ.2560

ห้องปฏิบัติการแปรรูปโลหะนอกกลุ่มเหล็กและวัสดุพิเศษ กว่างซี

ห้องปฏิบัติการสำคัญกว่างซี

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขต

พ.ศ. 2548

ศูนย์กลางนวัตกรรมร่วมด้านอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมเชิงนิเวศกว่างซี

ศูนย์นวัตกรรมร่วม 'โครงการ 2011' กว่างซี

สำนักงานการศึกษาเขต

พ.ศ. 2556

ศูนย์วิจัยเทคนิควิศวกรรมการผลิตวัสดุแผ่นโครงสร้างคุณภาพสูงจากวัสดุชีวมวลเหลือทิ้งกว่างซี"

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมกว่างซี

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับเขต

พ.ศ. 2556

ห้องปฏิบัติการสำคัญด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยในกว่างซี

ห้องปฏิบัติการสำคัญของมหาวิทยาลัยในกว่างซี

สำนักงานการศึกษาเขต

พ.ศ. 2557

ห้องปฏิบัติการสำคัญด้านวัสดุใหม่ของมหาวิทยาลัยในกว่างซี

ห้องปฏิบัติการสำคัญของมหาวิทยาลัยในกว่างซี

สำนักงานการศึกษาเขต

พ.ศ. 2557

"ห้องปฏิบัติการสำคัญด้านวิศวกรรมแร่ของมหาวิทยาลัยในกว่างซี

ห้องปฏิบัติการสำคัญของมหาวิทยาลัยในกว่างซี

สำนักงานการศึกษาเขต

พ.ศ. 2557

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทางคณะมุ่งเน้นการดำเนินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยให้ความสำคัญกับทรัพยากรที่มีลักษณะเฉพาะของกว่างซี รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น คณะฯ ได้รับรางวัลสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ รางวัลผลงานพิเศษด้านความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกว่างซี และรางวัลที่หนึ่งด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของกว่างซี รวมถึงได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการวิจัยสำคัญระดับชาติ ระดับมณฑล และระดับกระทรวงหลายโครงการ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถาบันได้รับโครงการวิจัยใหม่เพิ่มขึ้น 498 โครงการ คิดเป็นเงินทุนสนับสนุนรวม 260 ล้านหยวน โดยแบ่งเป็นโครงการระดับชาติ 81 โครงการ ได้รับเงินทุนสนับสนุน 40.272 ล้านหยวน โครงการระดับมณฑล 124 โครงการ ได้รับเงินทุนสนับสนุน 140 ล้านหยวน นอกจากนี้ ยังมีโครงการวิจัยและพัฒนาสำคัญระดับชาติเพิ่มขึ้น 4 โครงการ และโครงการจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ 77 โครงการ โครงการพิเศษเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมของกว่างซี 28 โครงการ โครงการแผนวิจัยและพัฒนาสำคัญ 9 โครงการ โครงการจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของกว่างซี 63 โครงการ โครงการฐานวิทยาศาสตร์และผู้มีความสามารถพิเศษของกว่างซี 16 โครงการ และโครงการอื่นๆ อีก 8 โครงการ

คณะ ฯ ได้ตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารต่างๆ จำนวน 1,582 บทความ โดยเป็นบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสูง เช่น Nature Communications และ Nano Energy จำนวน 167 บทความ และจัดพิมพ์หนังสือต่างๆ จำนวน 21 เล่ม สถาบันได้รับการอนุมัติสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 213 รายการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสิทธิบัตร 13 รายการ คิดเป็นมูลค่าการถ่ายทอดเทคโนโลยี 5.828 ล้านหยวน คณะ ฯ ยังได้รับรางวัลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ จำนวน 16 รางวัล ซึ่งในจำนวนนี้เป็นรางวัลระดับมณฑล 12 รางวัล

การก่อสร้างและการพัฒนาของคณะและห้องปฏิบัติการสำคัญ ได้รับการดูแลและสนับสนุนจากผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในทุกระดับเช่น  วัง หยาง กรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ และเลขาธิการคณะกรรมการพรรค หาน ฉี่เต๋อ นักวิชาการจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน อดีตรองประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติชุดที่ 12  หวง เว่ย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลิว เสี่ยวหมิง รองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคประจำเขตปกครองตนเอง หวง จวิ้นหัว และ สวี่ เสียนฮุย รองประธานเขตปกครองตนเอง เหลย เฉาจือ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ ฟ่าน ไห่หลิน รองอธิบดีกรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หลี่ กั๋วจง เลขาธิการคณะกรรมการพรรคประจำกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเอง และ เจี่ยน ซิงเชา หลี่ เค่อฉุน ถัง เสียนไหล รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเอง รวมถึงผู้นำท่านอื่นๆ ได้เคยเดินทางมาเยี่ยมชมและให้คำแนะนำแก่ทางคณะฯ เพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจกับทางคณะ ฯ การสร้างแพลตฟอร์มการวิจัยระดับสูง และพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องในด้านการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ การถ่ายทอดผลงานวิจัย และการบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะฯ ให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะคุณธรรมและพัฒนาคน โดยเน้นการอบรมบ่มเพาะความคิดทางการเมือง อุดมคติ และจิตสำนึกรักชาติแก่นักศึกษา รวมถึงให้ความสำคัญกับการอบรมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวคิดแบบส่วนรวม โดยยึดมั่นในการบ่มเพาะบุคลากรเพื่อพรรคและประเทศชาติ คณะ ฯ ส่งเสริมและชี้นำให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมภาคปฏิบัติทางสังคม บริการอาสาสมัคร และกิจกรรมทางวัฒนธรรมและกีฬา ซึ่งผลงานของอาสาสมัครนักศึกษาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกสถานศึกษา โดยหน่วยอาสาสมัครนักศึกษาได้รับรางวัล "รางวัลการดำเนินงานยอดเยี่ยมสำหรับองค์กรบริการอาสาสมัครของเมืองหนานหนิง ที่รับโครงการบริการอาสาสมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล" และหน่วย ชุนฮุย ของนักศึกษาได้รับการยกย่องให้เป็น "องค์กรบริการอาสาสมัครเยาวชนดีเด่น" ของเมืองหนานหนิง
   คณะฯ ส่งเสริมการปฏิบัติจริงและเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ โดยสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการอย่างแข็งขัน และได้รับผลงานที่โดดเด่นในการแข่งขันต่างๆ เช่น การแข่งขันนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการระดับมหาวิทยาลัยนานาชาติ  "อินเทอร์เน็ต+"  ของจีน การแข่งขันผลงานวิชาการและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนอกหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยแห่งชาติ "ชาเลนจ์คัพ" และการแข่งขันทักษะโลหะวิทยาแห่งชาติระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น ในปี 2564 และ 2565 ทีมของวิทยาลัยได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศของการแข่งขันนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการระดับมหาวิทยาลัยนานาชาติ "อินเทอร์เน็ต+" ของจีน ทั้งสองครั้ง

คณะฯ มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาของกว่างซี และทุ่มเทเพื่อแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญที่อุตสาหกรรมต่างๆ ในกว่างซีกำลังเผชิญอยู่ เช่น อุตสาหกรรมวัสดุ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และยานยนต์ รวมถึงได้สร้างพันธมิตรร่วมกับบริษัทชั้นนำหลายแห่งเพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี ปัจจุบัน ทางคณะ ฯ ยังสร้างความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ระหว่างภาคการศึกษา วิจัย และการใช้งาน กับสถาบันวิจัย หน่วยงานวิจัย และบริษัทผู้ผลิตกว่า 80 แห่ง ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหมืองแร่ โลหะวิทยา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มธุรกิจน้ำ การแปรรูปอะลูมิเนียม เหล็กกล้า วัสดุก่อสร้างซีเมนต์ การหล่อเครื่องจักร ยานยนต์ พลังงานใหม่ วัสดุใหม่ และการแปรรูปไม้ โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญที่บริษัทต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการถ่ายทอดผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเสริมสร้างความสามารถในการให้บริการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทเชิงบวกในการให้บริการเศรษฐกิจท้องถิ่น

คณะฯ ให้ความสำคัญกับการวิจัยขั้นพื้นฐาน ติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผนวกกับความต้องการของกว่างซี ดำเนินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่สำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกว่างซี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ทำการศึกษาค้นคว้าในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น วัสดุและอุปกรณ์พลังงานใหม่ วัสดุและอุปกรณ์
ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง การสกัดโลหะพิเศษที่มีความบริสุทธิ์สูง ทฤษฎีและการเตรียมสารสำหรับการคัดแยกแร่พิเศษ แผนภาพเฟสของโลหะผสม การพัฒนาวัสดุชีวมวลและเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้ ตีพิมพ์บทความวิจัยระดับสูงจำนวนมาก ได้รับสิทธิบัตรจำนวนหนึ่ง และสร้างผลสำเร็จด้านการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนหนึ่ง รวมถึงบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคจำนวนมาก

คณะ ฯ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่อาเซียนและต่างประเทศในการแสวงหาความร่วมมือและการพัฒนา ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้เป็นเจ้าภาพและร่วมจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติหลายครั้ง และได้สร้างความสัมพันธ์ด้านการบ่มเพาะบุคลากรและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และไทย รวมถึงได้ร่วมมือกันตีพิมพ์บทความวิจัยระดับสูงมากกว่า 70 บทความ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างอิทธิพลทางวิชาการในระดับนานาชาติ

เมื่อมองไปในอนาคต หนทางสู่ความมั่งคั่งของประเทศชาติและการฟื้นฟูของประชาชาติยังคงอีกยาวไกลและมีความรับผิดชอบอันหนักอึ้งอยู่บนบ่า บุคลากรด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และวัสดุของมหาวิทยาลัยกว่างซีจะจดจำภารกิจ ยึดมั่นในจิตวิญญาณแห่งการแสวงหาความเป็นเลิศ "บำเพ็ญคุณธรรม สร้างสรรค์กิจการ มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ" ยืนหยัดในการบ่มเพาะคุณธรรมและพัฒนาคน มุ่งมั่นก้าวไปข้างหน้า ร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อร่วมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของการศึกษา


ที่อยู่ของวิทยาลัย: เลขที่ 100 ถนนต้าเสวีย เมืองหนานหนิง มณฑลกวางสี ประเทศจีน รหัสไปรษณีย์: 530004 โทรศัพท์: 0771-3232200 (สำนักงานบริหารพรรคและรัฐของวิทยาลัย)
โทรสาร: 0771-3232200
(ข้อมูลอัปเดตเมื่อ: มีนาคม 2566)